https://collectibles108.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 2018

อายุ 100+กว่าปี..ขี่โชว์มอเตอร์ไซต์ในตำนาน "อีตั้น"จากอังกฤษ

Vintage Motorcycle!


ขี่โชว์มอเตอร์ไซต์วินเทจอายุร้อยกว่าปี




100+กว่าปี..ขี่โชว์มอเตอร์ไซต์ในตำนาน 



Show !  Riding old vintage motorcycle 
about 100 years up .
This moped was painted red. 
It featured a 50 cc engine.







จากการที่ได้ย้ายที่ทำงานไปอยู่เมืองลับแล เมื่อปี 2535
โชคดีไปได้มอเตอร์ไซด์เก่าแก่ อายุน่าจะเกิน 100 กว่าปี 
ได้ซื้อต่อจากเจ้าของร้านขายของชำในตลาดเมืองลับแล 
ที่รุ่นอาก๋งได้ซื้อมอเตอร์ไซต์คันนี้มาใช้งานที่ลับแล
เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา








บอกมาว่าเป็นมอเตอร์ไซต์นำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ 
ยี่ห้อ "อีตั้น" หรืออีตั้ม!...นี่แหละ อายุน่าจะเป็นร้อยปีได้
จึงได้นำมาซ่อมทาสี และวางเครื่องยนต์ 50 ซีซี




เชิญชม


โดยคลิปวิดีโอนี้ค่ะ






https://youtu.be/YHvbCFr5pBQ




ก็สามารถนำมาใช้งานต่อได้เป็นอย่างดี...

จนถึงทุกวันนี้ !

*** @@@@@ ***




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


กล่อง/หีบไม่ไผ่จีนสานโบราณ(ฝีมือปราณีตงดงาม)




กล่อง/หีบไม่ไผ่จีนสานโบราณ
(ฝีมือปราณีตงดงาม) 

มีลวดลายจีนโบราณลงทองทรงคุณค่ายิ่ง เป็นของเก่า
โบราณจากบรรพบุรุษชาวจีน   ของเก่าโบราณมีอายุเกือบ 200 ปี
สภาพดั้งเดิม ใบขนาดย่อม ใส่ของประดับต่างๆได้มาก













ลงประกาศในเวป Kaide





คุณสมบัติของไม้ไผ่


1. คุณสมบัติทางกายภาพ
  • ความชื้นของไม้ไผ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่มีค่าเฉลี่ย 50-99 % และไม้ไผ่ที่ยังอ่อนอยู่มีค่าเฉลี่ย 80-95 % ขณะที่ไม้ไผ่ซึ่งแห้งเต็มที่แล้วมีความชื้น 12-18 % ความชื้นของไม้ไผ่จะค่อย ๆ ลดลงจากส่วนโคนไปยังส่วนปลายของลำต้น และจะลดลงเมื่อลำต้นมีอายุเพิ่มขึ้น และมีความชื้นสูงในฤดูฝนมากกว่าฤดูแล้ง
  • ความหนาแน่นของเนื้อไม้เปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของไม้ไผ่
  • ปริมาณน้ำในผนังเซลล์ของเซลล์เส้นใยหรือไฟเบอร์(fiber) ขึ้นกับชนิดของเนื้อไม้
  • การหดตัวของเนื้อไม้ เกิดขึ้นภายหลังจากการเก็บเกี่ยว ไม้ไผ่ที่มีสีเขียวจะมีการสูญเสียน้ำและมีการหดตัวของเซลล์ซึ่งมีผลต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไม้ไผ่ให้หดเล็กลงด้วย
2. คุณสมบัติทางกล 
ไม้ไผ่เป็นพืชที่มีเนื้อไม้ซึ่งแข็งแรงและยืดหยุ่นได้เช่นเดียวกับเนื้อไม้ของพืชอื่น ๆ คือ
  1. การโค้งงอ คุณสมบัติขึ้นกับชนิดของไม้ไผ่ และขนาดของลำไผ่ หรือเนื้อไม้ที่ถูกผ่าแบ่งให้มีความหนาและบางแตกต่างกันไป
  2. การยืดหยุ่น ขึ้นกับคุณสมบัติในการโค้งงอ และการทนต่อแรงกดบนเนื้อไม้
  3. การทนทานต่อแรงกด แรงบีบ และแรงอัดต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการรับน้ำหนักของวัตถุ

3. คุณสมบัติทางเคมี
  • องค์ประกอบหลักของเนื้อไม้ ได้แก่ เซลลูโลส(cellulose) เฮมิเซลลูโลส(hemicellulose) และลิกนิน(lignin) องค์ประกอบรองได้แก่สารจำพวก เรซิน(resins) แทนนิน(tannins) แว๊กซ์(waxes) และเกลืออนินทรีย์(inorganic salts) 
  • อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ มีเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ซึ่งเรียกรวมกันว่าโฮโลเซลลูโลส(holocellulose) เป็นองค์ประกอบ 61-71 % เพนโทแซน(pentosans) 16-21 % ลิกนิน(lignin) 20-30 % เถ้า 1-9 % ซิลิก้า 0.5-4% 
  • หน่ออ่อนของลำต้นที่นำมาบริโภคเป็นหน่อไม้ ในส่วนที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำ 89-93 กรัม โปรตีน 1.3-2.3 กรัม ไขมัน 0.3-0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.2-6.1 กรัม เส้นใย 0.5-0.77 กรัม เถ้า 0.8-1.3 กรัม แคลเซียม 81-96 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 42-59 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5-1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 10.07-0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.2-5.7 มิลลิกรัม กลูโคส 1.8-4.1 กรัม พลังงาน 118-197 จูล ไซยาไนด์ 44-283 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม



โพสต์แนะนำ